ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

ทำไมหิ่งห้อยต้องอยู่ใต้ต้นลำภู


















        เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมใครๆถึงพากันคิดว่า หิ่งห้อยมักจะอยู่ใต้ต้น ลำภู เท่านั้น เอ๊ะ ! หรือว่าจริงๆแล้ว หิ่งห้อยก็อยู่ในทุกๆที่เพียงแต่เราไม่เคยสังเกตุมันเท่านั้นเอง จริงๆแล้วคำตอบของมันก็เพราะ

หิ่งห้อยคืออะไร
        หิ่งห้อย มีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่า Firefly หิ่งห้อย แมลงปีกแข็งที่สามารถเรืองแสงได้ในเวลากลางคืน มักอาศัยใกล้แหล่งน้ำที่สะอาดตามต้นไม้ริมน้ำ เช่น ต้นกกและต้นลำพู

เพราะอะไรหิ่งห้อยจึงกะพริบ
        เมื่อหิ่งห้อยหนุ่มพบหิ่งห้อยสาวที่หมายปอง มันก็จะกระพริบแสงเป็นจังหวะของมัน ถ้าหิ่งห้อยสาวพอใจก็จะกระพริบตอบด้วยจังหวะเดียวกัน จากนั้นทั้งสองก็ผสมพันธ์ เมื่อหิ่งห้อยสาวตั้งท้องและวางไข่มันก็จะตายจากไปแสงของหิ่งห้อยเกิดจากสาร เรืองแสงในตัวของมัน ซึ่งเปล่งออกมาบริเวณปลายปล้องท้อง และในอดีตคนเรายังใช้แสงหิ่งห้อยเป็นเครื่องนำทางสร้างความสวยงามให้กับธรรมชาติในยามค่ำคืน

หิ่งห้อยทำไมถึงอยู่ต้นลำพู
        หิ่งห้อย ไม่ได้อยู่เพียงแต่ต้นลำพู เพียงเพราะว่า หิ่งห้อยตัวเต็มวัยไม่กินอาหารเพียงแต่กินน้ำหรือน้ำค้างที่เกาะอยู่ตาม ใบไม้ ต้นลำพูเป็นพืชที่มีขนที่ใบจึงทำให้น้ำค้างเกาะอยู่จำนวนมาก ซึ่งเป็นอาหารของหิ่งห้อยอย่างดี

เรืองแสงสีสวยงดงามที่บริเวณส่วนก้นของมันได้อย่างไร ... จริงไหม
        หิ่งห้อยไทยชอบอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ หรือตามพื้นที่ชุ่มชื้นใกล้หนองน้ำ หรือลำธารที่มี---น้ำใสสะอาด--
        โดยเฉพาะป่าชายเลนที่มีแหล่งอาหารสมบูรณ์ เพราะลูกหิ่งห้อยเป็นหนอนตัวน่าเกลียดในน้ำ จับสัตว์น้ำอื่นกิน
        ประเทศอื่นๆที่มีหิ่งห้อย ในยุโรป ออสเตรเลีย อเมริกา และอาฟริกา คงจะไม่มีต้นลำพูเหมือนบ้านเรา แต่อาจจะมีต้นโกงกางบ้าง..ต้นไม้ขึ้นใกล้น้ำ-ชนิดอื่นๆ-บ้าง เคยเห็นหิ่งห้อยเป็นพันๆตัวในเวลากลางคืนที่ริมพรมแดนไทย-พม่าด้านที่ไม่ติดกับแม่น้ำด้วยซ้ำไป เพียงแต่มีคลองน้ำใสเล็กๆไหลผ่าน..และอาจจะมีสระเลี้ยงปลาที่สะอาดจากน้ำธรรมชาติและแถวนั้นไม่มีต้นลำพูและโกงกาง แน่นอน(เพราะน้ำจืดสนิท-ไม่ใช่น้ำกร่อย)

        จึงยืนยันได้ว่า..ต้นลำพูและหิ่งห้อย..เป็นความบังเอิญหรือความจำเป็นของชาวประชาหิ่งห้อยแถวอำพวาเท่านั้น

        ธรรมชาติของหิ่งห้อย ในเวลากลางวันหิ่งห้อยจะหลบซ่อนตัวอยู่ตามพงหญ้าหรือวัชพืช หรือหลบตามกาบไม้ซอกไม้ต่างๆ

        ที่สำคัญ บริเวณนั้นต้องไม่มีมลพิษจากสิ่งแวดล้อมมากมายนักจึงเป็นตัวชี้อันหนึ่งว่า..ถ้ามีหิ่งห้อย สภาพแวดล้อมก็ยังดีอยู่..แต่คงไม่ใช่เอาเรื่องนี้ เพียงเรื่องเดียวมาเป็นเครื่องวัดระบบนิเวศน์ เพราะ จริงๆแล้ววัฏจักรของหิ่งห้อยมีมากกว่านั้นมากมายนัก


ที่มา http://variety.teenee.com/foodforbrain และ http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=9383.0 และ www.ipst.ac.th/thaiversion/publi...fly.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น