ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

ทำไม? ยาคูลท์ถึงมีแต่ขวดเล็ก


      














         เพราะยาคูลท์เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมัก โดยเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นแบคทีเรียชื่อ แลคโตบาซิลลัสที่ทำให้เกิดรสชาติเปรี้ยว

        เนื่องจากเกิดกรดขึ้นมาหลายชนิดระหว่างกระบวนการหมัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรดแลคติก ปัจจุบันใช้เชื้อชื่อ Lactobacillus Balgaricu ร่วมกับ Stroptococcus themophilus ในอุตสาหกรรมผลิตนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต

        โดยปกติธรรมชาติแล้ว จุลินทรีย์ชนิดนี้มีอยู่แล้วตามทางเดินอาหารของคนเรา และเป็นจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์ ช่วยทำให้เกิดกระบวนการย่อย และหมักในทางเดินอาหารในส่วนที่ร่างกายของคนเราไม่สามารถจะย่อยได้ จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะคอยช่วยเหลือ แต่ถ้ามีจำนวนมากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อเราได้เช่นเดียวกัน คืออาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ เพราะจุลินทรีย์ผลิตกรดขึ้นมาซึ่งเป็นผลทำให้ยาคูลท์ผลิตขนาดเดียว คือ 80 ซีซี ที่พอเหมาะกับปริมาณของเชื้อแลคโตบาซิลลัส โดยจะสังเกตข้างขวดที่เขียนไว้ว่ามีปริมาณเชื้อแลคโตบาซิลลัส 8.0x10 ( ยกกำลัง 9 )

        ถ้าทำยาคูลท์ให้มีขนาดขวดใหญ่พอๆ กับยาคูทล์ 6 ขวดเล็กรวมกันแล้วละก็ คงไม่ดีต่อผู้บริโภคแน่ เพราะจะทำให้ได้รับปริมาณเชื้อแลคโตบาซิลลัสมากเกินพอ หรือถ้าจะทำขนาด 450 ซีซี ขึ้นมาจริงๆ แล้วลดปริมาณแลคโตบาซิลลัสลงอาจจะทำได้แต่เชื่อแน่ว่ารสชาติของยาคูลท์อาจจะเปลี่ยนไปไม่อร่อยเหมือนเคย และถ้าหากเราทานยาคูลท์วันละ 6 ขวด เพื่อความอร่อยแต่อาจเกิดโทษขึ้นได้ ทานวันล่ะขวดก็เพียงพอแล้ว

        คนที่ไม่ทานเลยก็ไม่เป็นอะไร เพราะว่าในร่างกายของเรามีจุลินทรีย์ชนิดนี้อยู่เรียบร้อยแล้ว อีกเรื่องที่ควรสังเกตเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่บริโภคยาคูลท์ก็คือ อย่าลืมดูวันหมดอายุข้างขาดและเลือกซื้อจากตู้แช่ที่เก็บไว้ใน อุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้ได้จุลินทรีย์ที่พร้อมจะทำงานให้เราได้ทันที


ขอบพระคุณข้อมูลจาก http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=8058.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น