ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การใช้ BB อาจผิดกฏหมายไทย

          คณะกรรมการ กทช.เตรียมสอบถามไปยัง ก.ไอซีที ว่าการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบล็คเบอร์รี่ หรือบีบี ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์หรือไม่

          เนื่องจากเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่มีระบบบันทึกข้อมูลอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศ ทำให้กฎหมายไทยไม่สามารถเอาผิด หรือควบคุมได้ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เปิดเผยว่า บอร์ด กทช.สั่งการให้ทำหนังสือสอบถามไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กรณีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทสมาร์ทโฟนแบรนด์แบล็คเบอร์รี่ หรือบีบี ว่าตัวระบบนั้นขัดต่อกฎหมายของกระทรวงไอซีที ว่าด้วย พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 หรือไม่

          เนื่องจากเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่มีการบันทึกข้อมูลอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศทำให้กฎหมายไทยไม่สามารถเอาผิด หรือติดตามควบคุมได้ อ้างอิงจากการที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย กลุ่มประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) และอินเดีย สั่งห้ามใช้อุปกรณ์ดังกล่าวภายในประเทศโดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงเพราะเป็นการส่งข้อมูลของผู้ใช้ในประเทศโดยอัตโนมัติไปจัดเก็บยังผู้ให้บริการในต่างประเทศ

        แต่ในส่วนของไทย กทช.ไม่ได้มองเรื่องความมั่นคงเป็นหลัก เพราะไม่มีหน่วยงานใดใช้บีบีในการติดต่อสื่อสารกันเหมือนประเทศที่ห้ามใช้ แต่ห่วงเรื่องข้อมูลที่ส่งถึงกันจะผิดกฎหมายว่าด้วย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 หรือไม่ ซึ่งหากไอซีทีเห็นว่าไม่ขัดต่อกฎหมาย ทุกอย่างก็จะมีความชัดเจน

        อย่างไรก็ตาม มีความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในวงการโทรคมนาคมการบางราย มองว่า การสื่อสารผ่านบีบีถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลแม้จะมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ในเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศ แต่หน่วยงานด้านความมั่นคงก็สามารถขอดูบันทึกข้อมูลได้ แต่ที่ผ่านมาการใช้บีบีในไทย ไม่พบว่ามีการร้องเรียนถึงพฤติกรรมการใช้งานที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคง ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือค่าใช้บริการค่อนข้างสูง ขณะเดียวกัน กทช.อยู่ระหว่างส่งร่างประกาศ ว่าด้วยการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว ไปยังกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ

ขอบพระคุณข้อมูลจาก http://kbusociety.eduzones.com/th/archives/6510

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น